LABEL GMO FOODS พืช gmo ในประเทศไทย

LABEL GMO FOODS พืช gmo ในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลง พันธุวิศวกรรม ต้องมีการติดฉลากให้ชัดเจน

LABEL GMO FOODS พืช gmo ในประเทศไทย
  • The Campaign
  • Newsletter
  • Contact Us
  • About GMOs

จุดเริ่มต้นของ GMO ในประเทศไทย

GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organisms แปลเป็นไทยได้ว่าการดัดแปลงพันธุวิศวกรรม โดยการนำสารพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถผสมกันได้เองตามธรรมชาติ ผสมหรือใส่เข้าไปอีก สิ่งมีชีวิตเพื่อให้มีลักษณะตามที่เราต้องการ GMO นี้สามารถทำได้ทั้งในสัตว์ พืช และจุลินทรีย์ ที่นิยมทำกันมากที่สุดก็คือพืช เพราะพืชมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุด มีการนำ GMO มาใช้พัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ทั้งทางด้านของความทนทานต่อศัตรูพืช การเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้น เพิ่มคุณค่าทางอาหาร การลดการใช้สารเคมี เป็นต้น เรียกได้ว่าพืช GMO นั้นสามารถคัดสรรเฉพาะคุณลักษณะดีๆ หรือคุณลักษณะที่เราต้องการให้ออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์จนเกิดสีสันใหม่สวยงามขึ้น แข็งแรงขึ้น หอมขึ้น แต่อีกทางหนึ่งก็ถือว่าเป็นการแหกกฎธรรมชาติ ทำให้สูญเสียระบบนิเวศน์วิทยา

พืช GMO เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2538 กรมวิชาการเกษตรอนุญาตให้บริษัทมอนซานโต้ทดลองทำการปลูกพืช GMO ประเภทฝ้ายที่มีคุณสมบัติสร้างพิษฆ่าแมลงศัตรูพืช ต่อมาปี พ.ศ.2540 กรมวิชาการเกษตรมีโครงการจะนำเข้าพืชมะละกอ GMO ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนในมะละกอได้ โดยจะนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2542 มีการเล็ดรอดนำฝ้าย GMO ออกไปปลูกกันเองที่แปลงเกษตรกรโดยมูลนิธิชีววิถีหรือไบโอไทย ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากเชื่อว่าพืช GMO นี้ไม่ได้มีผลดีอย่างเดียว ผลเสียก็มีว่าจะทำให้พืชนั้นกลายพันธุ์ กระทบต่อระบบนิเวศวิทยา สุดท้ายคณะรัฐมนตรีก็ได้ออกกฎหมายห้ามปลูกทดลองพืช GMO ตามแปลงไร่นา

หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2547 พบการแอบปลูกมะละกอ GMO ในแปลงไร่ของเกษตรกร โดยมีผู้กล่าวอ้างว่าต้นเหตุการณ์ปนเปื้อนนั้นมาจากแปลงทดลองปลูกพืชแบบเปิดของสถานีวิจัยพืชสวนจังหวัดขอนแก่น จากนั้นก็มีการฟ้องร้องคดีความก่อนจะไกล่เกลี่ยและยกฟ้องภายหลัง

ปี พ.ศ.2550 มติคณะรัฐมนตรีกลับมาอนุญาตให้ทดลองปลูกพืช GMO ได้อีกครั้งแต่มีเงื่อนไขว่าต้องทดลองในพื้นที่ของรัฐเท่านั้น ต้องมีข้อมูลการดำเนินการนำเสนอต่อรัฐอย่างชัดเจน และต้องยื่นเสนอเพื่ออนุมัติก่อน แต่ยังไม่ได้ร่างกฎหมาย อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นก็ยังมีการคัดค้านระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในการปลูกพืช GMO อยู่บ่อยครั้ง ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้นำเข้าพืช GMO มาเพาะปลูกเพื่อการค้าพาณิชย์ ไม่อนุญาตให้ปลูกในแปลงไร่นาของเกษตรกร ยกเว้นหน่วยงานของรัฐที่นำมาศึกษาวิจัยเท่านั้น แต่พืช GMO ที่แปรรูปเรียบร้อยแล้วอนุญาตให้นำเข้ามาได้

Post navigation

น้ำนมมะพร้าวรสทุเรียนโคคู อร่อย ประโยชน์เยอะ → ← ภาพรวม สินค้า GMOs ถึงความมั่นคงและความปลอดภัย

Nutritious foods

banana1

sticker

Take Control of Your Health

lable522

Subscribe Newsletter

or sign in with Facebook

เนื้อหาอัพเดตใหม่

  • พืชผักออร์แกนิค เปรียบเทียบกับพืช GMO เปรียบเทียบคุณสมบัติข้อต่อข้อ
  • ไขข้อข้องใจ GMO คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
  • ปัจจุบันการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) มีการพัฒนาถึงไหนแล้ว
  • ความรู้เกี่ยวกับ พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)
  • GMO แนวคิดมาจากโลกแห่งอนาคต

GMO Food คืออะไร?

My Partner

อาหารดัดแปรพันธุกรรม
GMO Food
Genetically modified food

Powered by WordPress | theme Dream Way