Author: admin

พืชผักออร์แกนิค เปรียบเทียบกับพืช GMO เปรียบเทียบคุณสมบัติข้อต่อข้อ

หากจะพูดถึงเรื่องความอุดมสมบูรณ์เชื่อว่าประเทศไทยเราเองก็ไม่ได้ด้อยกว่าใครในโลกเหมือนกัน เรามีพืชผักให้เลือกมากมายทั้งพืชของไทยเองหรือพืชผักที่นำเข้าจากต่างประเทศมาเพาะพันธุ์ปลูกก็ทำได้เหมือนกัน ล่าสุดไทยเรากำลังมีพืชผักอยู่สองแบบถกเถียงกันอยู่ก็คือ พืชผักออร์แกนิค กับ พืชGMO ทั้งสองแบบนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน ความหมายของผักทั้งสองชนิด ก่อนจะไปเปรียบเทียบผักทั้งสองชนิด เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า ผักทั้งสองแบบมีความหมายแตกต่างกันอย่าง่ คำว่า พืชผักออร์แกนิค เป็นผักที่มีการปลูกด้วยวิธีพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักไร้ดิน ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีเป็นต้น แต่ผักออร์แกนิคจะชูจุดเด่นเรื่องของความสะอาดของผักที่จะกินได้โดยไม่ต้องกังวลอะไรเลย ส่วนพืชผัก GMO นั้นจะนิยามก็คือ พืชผักที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมบางอย่างเพื่อให้พืช GMO มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่นทนต่อแดดฝน ทนต่อแมงศัตรูพืช หรือไม่ก็เพิ่มสารอาหารเข้าไปในพืชนั้น คุณสมบัติของ พืชผัก เรามาว่ากันเรื่องคุณสมบัติของพืชผักนั้น…

ไขข้อข้องใจ GMO คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

GMO เป็นพืชที่ผ่านการออกแบบและดัดแปลงพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติพิเศษมากมายเช่น ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น รสชาติดีขึ้น อย่างไรก็ตามผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของตนเองในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จนเกิดการอภิปรายมากเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการใช้ GMOs ผู้ผลิตสร้าง GMOs โดยการแนะนำสารพันธุกรรม หรือ DNA จากสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันนำมาผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมส่วนใหญ่ที่เราเห็นได้ในผักและผลไม้ อาหารทั้งหมดจากที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมที่วางขายในสหรัฐอเมริกาถูกควบคุมโดยองค์การอาหารและยา (FDA) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นจะต้องตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยเช่นเดียวกับอาหารแบบดั้งเดิม ถึงแม้ว่ามันจะมีประโยชน์มากมายช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตที่มากขึ้น แต่มันมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเสี่ยงของอาหารจีเอ็มโอผุดขึ้นมาเต็มไปหมด ซึ่งวันนี้เราจะพามาดูถึงข้อดี – ข้อเสียว่ามันมีอะไรบ้าง ข้อดีของการใช้ GMO ผู้ผลิตใช้ประโยชน์จากการดัดแปลงทางพันธุกรรม เพื่อให้ได้อาหารลักษณะที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่นการออกแบบแอปเปิ้ลสองสายพันธุ์ใหม่ที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลน้อยลงเมื่อถูกตัดหรือมีรอยช้ำ จึงเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นการทำเพื่อให้พืชมีภูมิต้านทานโรคได้ดีมากยิ่งขึ้นในทุกสภาพแว้ดล้อม นอกจากนี้ยังปรับแต่งให้มีคุณค่าทางโภชนาการหรือทนต่อสารกำจัดวัชพืชมากขึ้น เมื่อพืชสามารถทนทานต่อโรคช่วย…

ปัจจุบันการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) มีการพัฒนาถึงไหนแล้ว

ความหลากหลายทางชีวภาพไทยเรานั้นถือยืนหนึ่งในเรื่องนี้ไม่แพ้ใครเหมือนกัน แต่ว่าตอนนี้ไทยเราต้องเจอกับสิ่งที่เรียกว่า พืช GMO มาเขย่าตลาดอย่างมาก เรื่องนี้แม้จะมีการต่อสู้กันมาอย่างยาวนานทั้งด้านแนวคิด การผลิต และอีกมากมาย แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเสียที เอาเป็นว่าตอนนี้เราไปส่องดูกันว่าตอนนี้โลก GMO เค้ากำลังเดินไปทางไหนกันแล้ว สับปะรดสีชมพู หนึ่งในผลงานอันน่าทึ่งของฝั่งตะวันตกกับการพัฒนาสายพันธุ์พืชตัวหนึ่งที่คุ้นตากันดีนั่นคือ สับปะรด ที่คราวนี้เนื้อของมันถูกดัดแปลงให้กลายเป็นสีชมพูไม่ใช่สีเหลืองอีกต่อไป  เปลือกด้านนอกก็เป็นสีเหลือเข้ม ส่วนหัวสับปะรดก็จะเป็นสีเขียวอมฟ้าไม่ได้เป็นสีเขียวเข้มอย่างเดิม แม้ว่สับปะรดตัวนี้จะถูกมองว่าสวยงามแต่ยังไม่พร้อมจะเอามากิน แต่ในอนาคตก็ไม่แน่มันอาจจะสามารถพัฒนาให้กินได้ก็เป็นได้ ข้าวสีทอง คู่แข่งสำคัญ ข้าวไทยนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับไทยเรามาอย่างช้านาน ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หอมมะลิ ไรซ์เบอรี่ สินเหล็ก สังข์หยอด ข้าวเหล่านี้สร้างรายได้มาอย่างต่อเนื่อง…

ความรู้เกี่ยวกับ พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)

เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ศาสตร์ความรู้แขนงต่างๆ ขยายออกไปได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด เรื่องราวบางอย่างที่เคยคิดเอาไว้จินตนาการเอาไว้ อาจจะยังทำไม่ได้ในตอนนั้น แต่ตอนนี้หลายอย่างทำออกมาได้จริงแล้ว อีกหนึ่งแนวคิดมาแรงมากนั่นก็คือ พันธุวิศวกรรม หรือ Genetic Engineering เรื่องนี้ถือว่าเป็นแสงสว่างของโลกยุคต่อไปเลยก็ว่าได้ พันธุวิศวกรรม หรือ Genetic Engineering มันคืออะไร สำหรับคำว่า พันธุวิศวกรรม หรือ Genetic Engineering นี้แม้จะไม่ใช่คำใหม่เพราะมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยกันมานานแล้ว แต่เพิ่งจะทำให้กันเป็นจริงเป็นจังในช่วง 10 ปีหลังนี่เอง มันคือการตัดต่อ เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็น พืช และ…

GMO แนวคิดมาจากโลกแห่งอนาคต

เมื่อโลกพัฒนาเทคโนโลยีออกไปเรื่อยๆ นั่นก็ทำให้มนุษย์เรามีขีดความสามารถในการฝืนธรรมชาติมากขึ้นด้วยเช่นกัน ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการพัฒนาด้วยเช่นกัน อีกหนึ่งตัวอย่างการพัฒนาธรรมชาตินั่นคือ การทำ GMO เราอาจจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง เพื่อให้เข้าใจสิ่งนี้มากขึ้น เราเลยขออธิบายความต่อดังนี้ GMO คืออะไร มาว่ากันเรื่องของความหมายก่อนเลย GMO หมายถึง ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms แปลเป็นไทยก็คือ มันคือการนำสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ หรือแบคทีเรีย มาตัดต่อพันธุกรรมระดับจุลินทรีย์เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลบจุดด้อยเดิมของมัน วิธีการตัดต่อพันธุกรรม การสร้าง GMO นั้นจะผ่านกระบวนการเรียกว่า…

เทคโนโลยีชีวภาพ คือ อะไร และ ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ สำคัญมากขนาดไหน

เทคโนโลยีชีวภาพถือเป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต เทคโนโลยีชีวภาพส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตร อาหารและยา ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ทำสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างของเทคโนโลยีชีวภาพคือการใช้ปฏิกิริยาหมักในยีสต์เพื่อทำเบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ อีกตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตโดยยีสต์เพื่อให้ขนมปังฟูน่ากิน เทคโนโลยีชีวภาพมักเกี่ยวข้องทางพันธุวิศวกรรมของศตวรรษที่ 21 การใช้งานนั้นมันขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ต้องการจะใช้มันทำเพื่ออะไร อาจเริ่มต้นด้วยการดัดแปลงพืชพื้นเมืองให้กลายเป็นพืชที่ผลิตสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ โดยผ่านการปรับปรุงให้ดีขึ้นผ่านการคิดเลือกสายพันธุ์และการผสมพันธุ์ เทคโนโลยีชีวภาพทำให้การโคลนนิ่งเป็นไปได้ หลายคนคิดว่านี่เป็นเรื่องผิดศีลธรรมในขณะที่คนอื่นคิดว่ามันสามารถแก้ปัญหาหลายโรคได้ สามารถใช้เพื่อแก้ปัญหาที่เรามีมากมายในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการลดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีชีวภาพมีการใช้งานในพื้นที่อุตสาหกรรมหลัก 4 แห่ง ได้แก่ ด้านการแพทย์ การผลิตพืชผล การเกษตร การใช้พืชและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร (อุตสาหกรรม) เช่น พลาสติกชีวภาพ, น้ำมันพืช, เชื้อเพลิงชีวภาพ ตัวอย่างเช่น…

เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช GMOs

ทุกวันเราโตขึ้นมากับสิ่งมีชีวิตและผลผลิตที่เติบโตด้วยการตัดแต่งพันธุกรรมแบบไม่รู้ตัว เพราะในหลายๆ แห่งเลือกใช้วิธีการนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตตนเอง เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นในตลาดนั่นเอง ชื่อเต็มๆ ของเทคโนโลยีนี้ก็คือ การดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต (genetically modified organism) หรือจีเอ็มโอ (GMOs) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดีเอ็นเอถูกเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงทางพันธุกรรมโดยมนุษย์ ในกรณีส่วนใหญ่ GMOs ได้รับการปลูกถ่ายจากดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย พืช ไวรัสหรือสัตว์ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้บางครั้งเรียกว่า “สายพันธุ์ผสม” การดัดแปลงพันธุกรรมในแมงมุมช่วยให้มันสามารถชักใยเป็นเส้นไหมเป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องฟังดูพิลึก แต่สำหรับการผลิตแล้ว อย่างเช่นในแพะ พวกมันถูกตัดแต่งให้ผลิตโปรตีนไหมจากน้ำนมของพวกมัน โดยถูกใช้เป็นวัสดุที่หลากหลายทั้งในด้านอุตสาหกรรมและการแพทย์ นอกจากนี้มันยังถูกนำไปใช้ในด้านเกษตรกรรม จะถูกคัดเลือกสายพันธ์ที่ดีและนำมาดัดแปลงกับอีกสายพันธ์หนึ่ง…

GMO ภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

GMO เป็นอีกหนึ่งหัวข้อถกเถียงกันอย่างมาก ระหว่างเกษตรกร นักวิทยาศาสตร์ หน่วยงานทางด้านการแพทย์ ตกลงเจ้า GMO นี้มันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีกันแน่ เราอาจจะคุ้นเคยกับข้อดีของ GMO มานักต่อนัก ทีนี้เรามาดูภัยเงียบจาก GMO กันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร บอกเลยว่าอันตรายของมันก็ไม่แพ้ใครเหมือนกัน ความผิดปกติของผู้บริโภค เรารู้กันอยู่แล้วว่า GMO มันคือพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปลงตัดต่อพันธุกรรม เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีขึ้น ฟังดูเหมือนจะดีแต่การรับประทานอาหาร เนื้อสัตว์ วัตถุดิบที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมไปแล้ว มีแนวคิดว่า ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง บางคนเชื่อว่าการทานสิ่งที่ดัดแปลงยีนส์ อาจจะทำให้ยีนส์ในร่างกายถูกดัดแปลงได้เหมือนกัน แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นแบบปุบปับแต่จะส่งผลในระยะยาวแก้ไขลำบาก…

จุลินทรีย์ชีวภาพดัดแปลงพันธุกรรม (GMM) คือ อะไร

ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการวิจัยดีเอ็นเอสมัยใหม่ ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์มีศักยภาพในการสำรวจกระบวนการเผาผลาญของจุลินทรีย์ด้วยวิธีการใหม่ๆ ปัจจุบันจุลินทรีย์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม (GMMs) ได้ถูกนำมาใช้ให้ประโยชน์แก่สุขภาพของมนุษย์ การเกษตร การบำบัดด้วยกระบวรการทางชีวภาพ รวมถึงอุตสหกรรมการผลิตเช่น อาหาร กระดาษ สิ่งทอ เปิดโอกาสให้วิศวกรรมทางพันธุกรรมมีตัวเลือกที่มากขึ้น เพิ่มความหลากหลายของโมเลกุลและปรับปรุงการเลือกใช้สารเคมีได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้วิศวกรรมพันธุกรรมยังมีประโยชน์ในการเศรษฐกิจช่วยลดวัตถุดิบในการผลิต ลดต้นทุนของสายการผลิต เป็นผลให้ผลิตผลิตภัณฑ์มีราคาที่ถูกกว่าเดิม หน่วยจุลชีววิทยาแต่ละชนิดสามารถแบ่งตัวหรือถ่ายโอนข้อมูลทางพันธุกรรมได้ อย่างเช่นแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไวรอยด์ พรีออน เชื้อรา สาหร่าย โปรโตซัว ล้วนเป็นเซลล์สิ่งมีชีวิต การเพาะเลี้ยงอาจทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้ จึงต้องใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ภายใต้ข้อบังคับความปลอดภัยของแต่ละประเทศ สำหรับการใช้งานของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ซึ่งเป็นรากฐานในการใช้ตัดต่อพันธุกรรม…

เทคโนโลยี ชีวภาพจีโนมิกส์ (Genomics) คือ อะไร

Genomics เป็นสาขาสหวิทยาการที่มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างของวิวัฒนาการ การทำแผนที่ และการแก้ไขจีโนม จีโนมเป็นชุดของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งยีนทั้งหมดของมันซึ่งอยู่ทางตรงกันข้ามกับพันธุกรรม ซึ่งจะเป็นการศึกษายีนแต่ละตัวและบทบาทในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของพวกมัน มีจุดมุ่งหมายในการกำหนดลักษณะและควบคุมปริมาณของยีน ที่เป็นผู้กำผลิตโปรตีนจากเอนไซม์และถ่ายทอดทาง โมเลกุล โปรตีนมีความสำคัญอย่างมากในสิ่งมีชีวิต มันเป็นพื้นฐานโครงสร้างของร่างกายเช่นอวัยวะ และ เนื้อเยื่อรวมทั้งควบคุมปฏิกิริยาทางเคมีและส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ ความก้าวหน้าทางจีโนมิกส์ได้ก่อให้เกิดการปฏิวัติในการค้นคว้าวิจัยและชีววิทยาของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจระบบทางชีววิทยาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเช่นสมอง มันต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งศตวรรษสำหรับการค้นคว้าวิจัยจีโนมครั้งแรกสำเร็จ มันมีประวัติย้อนกลับไปในยุควิทยาการเริ่มทันสมัยขึ้นในปี 1970 เป็นการค้นพบที่สำคัญภาคสนามโดยกลุ่มเล็กๆ ของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จีโนมิกส์สมัยใหม่คงจะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีเทคโนโลยีในยุคสมัยปี 1950 เช่นการสร้างไอโซโทป ในขณะที่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำอธิบายโครงสร้างของเกลียวดีเอ็นเอที่ทำโดย เจมส์ ดี วัตสัน และ…