ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการวิจัยดีเอ็นเอสมัยใหม่ ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์มีศักยภาพในการสำรวจกระบวนการเผาผลาญของจุลินทรีย์ด้วยวิธีการใหม่ๆ ปัจจุบันจุลินทรีย์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม (GMMs) ได้ถูกนำมาใช้ให้ประโยชน์แก่สุขภาพของมนุษย์ การเกษตร การบำบัดด้วยกระบวรการทางชีวภาพ รวมถึงอุตสหกรรมการผลิตเช่น อาหาร กระดาษ สิ่งทอ เปิดโอกาสให้วิศวกรรมทางพันธุกรรมมีตัวเลือกที่มากขึ้น เพิ่มความหลากหลายของโมเลกุลและปรับปรุงการเลือกใช้สารเคมีได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้วิศวกรรมพันธุกรรมยังมีประโยชน์ในการเศรษฐกิจช่วยลดวัตถุดิบในการผลิต ลดต้นทุนของสายการผลิต เป็นผลให้ผลิตผลิตภัณฑ์มีราคาที่ถูกกว่าเดิม

หน่วยจุลชีววิทยาแต่ละชนิดสามารถแบ่งตัวหรือถ่ายโอนข้อมูลทางพันธุกรรมได้ อย่างเช่นแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไวรอยด์ พรีออน เชื้อรา สาหร่าย โปรโตซัว ล้วนเป็นเซลล์สิ่งมีชีวิต การเพาะเลี้ยงอาจทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้ จึงต้องใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ภายใต้ข้อบังคับความปลอดภัยของแต่ละประเทศ สำหรับการใช้งานของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ซึ่งเป็นรากฐานในการใช้ตัดต่อพันธุกรรม Genetically modified microorganism (GMM) สำหรับเรียกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กระดับจุลินทรีย์ ที่ถูกตัดต่อพันธ์ธุกรรรมให้ต่างจากเดิมที่ไม่สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไป การฉายรังสี และการใช้การปฏิบัติทางด้านเคมี จะไม่ถือว่าเป็น GMMs

โดย GMM มีความแตกต่างจาก GMOS ซึ่งโดยปกติแล้วจะหมายถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่อย่างต้นไม้ และสัตว์ ซึ่งถ้าเรามองลึกลงไปยิ่งกว่านั้นจะพบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วที่เรียว่าจุลินทรีย์ ในปี 1970 GMO ประสบความสำเร็จครั้งแรก และหลายปีต่อมาได้มีการพัฒนางานวิจัยต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นผลให้เราได้รู้จักกับเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กมากมาย ที่จะช่วยสร้างโปรตีนจำเป็นแก่ร่างกายของมนุษย์ เช่น อินซูลิน ปัจจุบันมีการผลิตยารักษาโรค และฮอร์โมน ที่ถูกสร้างขึ้นจากส่วนประกอบของจุลินทรีย์ และวางจำหน่ายทั่วไปในร้านขายยา โดยเฉพาะใน อีรีโทรพิติน สำหรับควบคุมสมดุลการสร้างเม็ดเลือดแดงของร่างกาย อินเตอร์เฟียรอน ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญคือการสร้างวัคซีนฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และอื่นๆ อีกมากมาย

ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมาเราใชประโยชน์จากมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเวลากว่า 5 ปีต่อมาที่นักวิจัยได้นำเชื้อแบคทีเรียที่พบมากในน้ำแข็งที่ก่อตัวบนใบของพืช และกำจัดยีนที่ไร้ประโยชน์ออก ทำให้ต้นไม้ที่ได้รับแบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมจะไม่เย็นจนแข็งในจนกระทั่ง 23 องศาฟาเรนไฮน์ ช่วยให้พืชสามารถอยู่รอดได้ในหน้าหนาว ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง จากนั้นก็มีการพัฒนากันอย่างเรื่อยมา มีการลองผิด ลองถูกมากมายจนนับไม่ถ้วน จนทำให้เรารู้จักสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนอีกมากมาย

By admin