
กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรรม ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทดลองปลูกพืช GMO ประกอบด้วย สภาเกษตรแห่งชาติ สมาคมการค้า เกษตรอินทรีย์ไทย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กลุ่มอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มูลนิธิชีววิถี ได้พบว่าการปลูกพืชดัดแปรงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์มีผลกระทบเชิงลบมากกว่าผลประโยชน์
ข้อแรก ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกร
ข้อสอง ประชาชนและผู้บริโภคทั่วโลก มีแนวโน้มต่อต้านผลผลิตพืชดัดแปรพันธุกรรม
ข้อสาม ผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทยถูกตีกลับ
ข้อสี่ ประเทศไทยไม่สามารถปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมร่วมกับระบบเกษตรอินทรีย์ได้
ข้อห้า ทำให้เกิดวัชพืชที่ต้านทานสารเคมีกำจัดวัชพืช และ แมลงที่ต้านทานสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ข้อหก พืช GMO ไม่ได้เพิ่มศักยภาพของการเพิ่มผลผลิต
ข้อเจ็ด ผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมจะปลอดภัยต่อสุขภาพทางประชาคมวิทยาศาสตร์ไม่สามารถระบุได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ข้อแปด ประเทศไทยมีทางเลือกในการพัฒนาการเกษตรได้ดีกว่าพืช GMO
ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยียุคใหม่ ทำให้นักวิชาการ นักคิดและนักพัฒนา มองมุมมองใหม่ๆ ว่า "เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหา หรือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาให้แก่สังคม"